สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

-         ภูมิลักษณ์ที่สืบค้นมีการเกิดและมีลักษณะอย่างไร

(ภูมิลักษณ์แต่ละภูมิลักษณ์มีกระบวนการเกิดและมีลักษะที่แตกต่างกัน ต้องอาศัยตัวนำพาและปัจจัยต่าง ๆ ในการเกิดภูมิลักษณ์)

-         เพราะเหตุใดเราจึงต้องอนุรักษ์ภูมิลักษณ์

(ภูมิลักษณ์บางอย่างสามารถผุพัง ถูกทำลาย หรือหยุดการเปลี่ยนแปลงไปได้ โดยอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเกิดจากมนุษย์เข้าไปใช้ประโยชน์โดยไม่ทรายถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นเราจึงควรหาวิธีการอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ต่าง ๆ ให้คงอยู่ในสภาพเดิมมากที่สุด)

-         การเผยแพร่ข้อมูลที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ในท้องถิ่นทำได้อย่างไร

(การเผยแพร่ข้อมูลสามารถทำได้หลายอย่าง เช่น ทำเอกสาร แผ่นพับ หรือป้ายให้ข้อมูลความรู้และการเยียมชมอย่างถูกต้องเพื่อการอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ในท้องถิ่น  สร้างสื่อเผยแพร่ความรู้รูปแบบต่าง ๆ ผ่านช่องทางสื่อสารที่คนในชุมชนเข้าถึงได้ เช่น คลิปวิดีโอ คลิปเสียง ผ่านระบบสังคมออนไลน์ต่าง ๆ นอกจากนี้การกระตุ้นให้   ภูมิลักษณ์ในท้องถิ่นเป็นแหล่งเรียนรู้หรือแหล่งท่องเที่ยวจะช่วยสร้างคุณค่าและกระตุ้นการอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ด้วยเช่นกัน)

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

 ตัวชี้วัด

ว 6.1 ม.2/9

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. สืบค้นและอธิบายการเกิดและลักษณะภูมิลักษณ์ในท้องถิ่นหรือภูมิลักษณ์ที่สนใจ

2. สืบค้นและอธิบายวิธีการอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ที่เลือก

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการประเมิณ

ด้านความรู้

ประเมินจาก

1. การบันทึกผลการทำกิจกรรม การตอบคำถามท้ายกิจกรรมเกี่ยวกับการเกิดและลักษณะภูมิลักษณ์

ในใบงานที่1

2. การบันทึกการอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ที่เลือก ในใบงานที่ 1

 

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ประเมินจาก

1. การลงความเห็นจากข้อมูลได้ด้วยตนเองหรือจากการชี้แนะของครูได้ว่า ภูมิลักษณ์เกิดจากการเปลี่ยนแปลงบนผิวโลกด้วยกระบวนการทาง

ธรณีวิทยาต่าง ๆ และต้องอาศัยตัวนำพาและปัจจัยต่าง ๆ ตามธรรมชาติ ภูมิลักษณ์สามารถผุพัง ถูกทำลาย เราควรหาวิธีการอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ต่าง ๆ ให้คงอยู่ในสภาพเดิมให้มากที่สุด

2. การนำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมเกี่ยวกับการเกิดและลักษณะภูมิลักษณ์ และวิธีการอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ที่เลือกไว้ มาจัดกระทำโดยวิธีการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับข้อมูล เพื่อประกอบการนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และสื่อความหมายได้ชัดเจน

3. การตีความหมายข้อมูล จากการรวบรวมข้อมูล และจากการอภิปรายได้ด้วยตนเอง หรือจากการชี้แนะของครูได้ว่า ภูมิลักษณ์เกิดจากการเปลี่ยนแปลงบนผิวโลกด้วยกระบวนการทาง ธรณีวิทยาต่าง ๆ และต้องอาศัยตัวนำพาและปัจจัยต่าง ๆ ตามธรรมชาติ ภูมิลักษณ์สามารถผุพัง ถูกทำลาย เราควรหาวิธีการอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ต่าง ๆ ให้คงอยู่ในสภาพเดิมให้มากที่สุด

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

ประเมินจาก

1. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความรอบคอบ เกี่ยวกับความละเอียดถี่ถ้วนในการทำกิจกรรม การวางแผนการทำกิจกรรม การตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์หรือเครื่องมือก่อนและหลังทำกิจกรรม การทำงานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

2. การนำหลักฐานหรือข้อมูลที่ได้จากการสังเกต จากการรวบรวมข้อมูล และจากการอภิปราย มาใช้สนับสนุนการอธิบายเกี่ยวกับการเกิดและลักษณะภูมิลักษณ์ และวิธีอนุรักษ์ภูมิลักษณ์

3. การเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากการทำกิจกรรม การนำเสนอผลการทำกิจกรรม ตามผลที่ได้จริงหรือตามที่ปรากฏจริง ถึงแม้จะแตกต่างจากผู้อื่น

4. การแปลความหมายข้อมูลโดยใช้หลักฐานหรือข้อมูลต่าง ๆ จากผลการทำกิจกรรมที่ได้จริงหรือตามที่ปรากฏจริง อย่างมีเหตุและผล

5. การสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจในการทำกิจกรรม การทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จตามกำหนดและตรงต่อเวลา อดทนแม้การทำกิจกรรมจะมีปัญหาและใช้เวลา

 

สมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

ประเมินจาก

1. การสื่อสาร โดยใช้ภาพ ข้อความและสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่ออธิบายการเกิดภูมิลักษณ์ ลักษณะและวิธีการอนุรักษ์ภูมิที่เลือก ให้เข้าใจได้ง่ายและถูกต้อง

2. การรวมพลังทำงานเป็นทีม โดยให้ข้อเสนอแนะและโต้แย้งโดยใช้เหตุและผล และสื่อสารให้เกิดความเข้าใจในการทำกิจกรรม ช่วยเหลือเพื่อนในขณะทำกิจกรรม ปฏิบัติตามคำชี้แนะในขณะทำกิจกรรม และการใช้การตัดสินใจเป็นทีมแบบฉันทามติ

3. การคิดขั้นสูง โดยการรวบรวมข้อมูล และประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อเลือกข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจหรือสร้างข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเกิดและลักษณะภูมิลักษณ์ และวิธีการอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ ได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น

4. การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ด้วยเหตุและผล และใช้วิจารณญาณในการหาวิธีการอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ให้คงสภาพเดิมตามธรรมชาติมากที่สุด

5. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยตอบ

เครื่องมือ

ใบงาน เรื่อง การอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ในท้องถิ่น

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 โลกและการเปลี่ยนแปลง
ชั่วโมง โลกและการเปลี่ยนแปลง
เรื่อง การอนุรักษ์ภูมิลักษณ์ในท้องถิ่น (2) 24 พ.ย. 65