สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ตัวเก็บประจุเป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เก็บและคายประจุไฟฟ้า ซึ่งความสามารถในการเก็บประจุไฟฟ้าของตัวเก็บประจุเรียกว่า ความจุไฟฟ้า มีหน่วยเป็นฟารัด (F) ใช้สัญลักษณ์ในวงจรไฟฟ้า        

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- อธิบายหน้าที่ของตัวเก็บประจุในวงจรไฟฟ้า

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          - การสังเกต โดยสังเกตรูปร่างลักษณะของตัวเก็บประจุและการเปลี่ยนแปลงของวงจรไฟฟ้าเมื่อต่อตัวเก็บประจุเข้ากับแหล่งกำเนิดไฟฟ้า

          - การสร้างแบบจำลอง เขียนแผนภาพแสดงการต่อตัวเก็บประจุในวงจรไฟฟ้า

          - การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยแปลความหมายข้อมูลและสรุปเกี่ยวกับ หน้าที่ของตัวเก็บประจุในวงจรไฟฟ้า

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

          - ความอยากรู้อยากเห็น โดยกระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัยในการทำกิจกรรม

          - วัตถุวิสัย โดยแปลความหมายข้อมูลให้สอดคล้องกับหลักฐานอย่างเที่ยงตรง

          - ความมุ่งมั่นอดทน ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐาน นำ ไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุปสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

          - การจัดการตนเอง โดยระบุเป้าหมายการทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบภายในกลุ่ม ทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเองและบริหารจัดการงานและเวลา

          - การรวมพลังทำงานเป็นทีม โดยมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานเป็นทีม มีการสะท้อนการทำงานและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงาน

          - การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเกี่ยวกับหน้าที่ของตัวเก็บประจุในวงจรไฟฟ้า    

 

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. ตอบคำถามในใบงาน เกี่ยวกับหน้าที่ของตัวเก็บประจุในวงจรไฟฟ้าอย่างถูกต้อง

2. การสังเกต จากการบันทึกผลการทำกิจกรรม โดยสังเกต  รูปร่างลักษณะของตัวเก็บประจุ และการเปลี่ยนแปลงของวงจรไฟฟ้าเมื่อต่อและไม่ต่อตัวเก็บประจุเข้ากับแหล่งกำเนิดไฟฟ้า และไม่ลงความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป

3. การสร้างแบบจำลอง จากการบันทึกผลการทำกิจกรรมในใบงาน โดยใช้ภาพ ข้อความ และสัญลักษณ์ เพื่อเขียนแผนภาพอธิบายการต่อวงจรไฟฟ้าและหน้าที่ของตัวเก็บประจุในวงจรไฟฟ้าให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง

4. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการตอบคำถามในใบงาน โดยแปลความหมายข้อมูลและสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่ของตัวเก็บประจุในวงจรไฟฟ้าได้

5. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความอยากรู้อยากเห็นในการทำงานระหว่างทำกิจกรรม

6. วัตถุวิสัย จากการบันทึกผลการทำกิจกรรมและการตอบคำถามในใบงานที่สะท้อนความสอดคล้องกันของหลักฐานและการแปลความหมายที่เที่ยงตรง

7. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความมุ่งมั่นอดทนในการทำงานระหว่างทำกิจกรรมและความสำเร็จของการทำงาน

8. การจัดการตนเอง จากการสังเกตพฤตกรรมระหว่างการทำงานและการบันทึกผลการทำกิจกรรมที่สะท้อนการเข้าใจเป้าหมายของการทำงาน รับผิดชอบการทำงานของตนเองตามบทบาทหน้าที่ภายในกลุ่ม มีวินัยในการทำงานจนบรรลุเป้าหมายที่ตนเองได้รับ

9. การรวมพลังทำงานเป็นทีม จากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงานและการบันทึกผลการทำกิจกรรมที่สะท้อนการมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานจนบรรลุเป้าหมาย ตลอดจนมีส่วนร่วมในการสะท้อนการทำงานให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงาน โดยยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างภายในกลุ่ม

10. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงาน ซึ่งเกิดจากการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเกี่ยวกับหน้าที่ของตัวเก็บประจุในวงจรไฟฟ้าที่สะท้อนความสัมพันธ์ของข้อมูลหรือหลักฐานได้

เครื่องมือ

1. ใบกิจกรรมที่ 1 ตัวเก็บประจุที่ทำหน้าที่อะไรในวงจรไฟฟ้า
2. ใบงานที่ 1 ตัวเก็บประจุที่ทำหน้าที่อะไรในวงจรไฟฟ้า

 

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
ชั่วโมง พลังงานไฟฟ้า
เรื่อง ตัวเก็บประจุทำหน้าที่อย่างไร วันที่ 2 ธ.ค. 65 (มีใบงาน ใบความรู้และใบกิจกรรม)