สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

             วงจรไฟฟ้าแบบขนาน เป็นวงจรไฟฟ้าที่มีการต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าแบบคร่อมกัน โดยค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าคร่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัวจะเท่ากัน และกระแสไฟฟ้าที่ผ่านอุปกรณ์แต่ละตัวรวมกันจะเท่ากับกระแสไฟฟ้ารวมของวงจรไฟฟ้า   

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- วิเคราะห์ความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า เมื่อต่อตัวต้านทานหลายตัวแบบอนุกรมและแบบขนานจากหลักฐานเชิงประจักษ์

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          - การวัด วัดปริมาณทางไฟฟ้าโดยใช้เครื่องมือวัดปริมาณทางไฟฟ้า พร้อมทั้งระบุหน่วย

          - การสร้างแบบจำลอง โดยเขียนแผนภาพวงจรไฟฟ้าแสดงการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมและแบบขนาน

          - การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยแปลความหมายข้อมูลและสรุปเกี่ยวกับ ความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า เมื่อต่อตัวต้านทานหลายตัวแบบอนุกรมและแบบขนาน

          ด้านจิตวิทยาศาสตร์

- วัตถุวิสัย โดยแปลความหมายข้อมูลให้สอดคล้องกับหลักฐานอย่างเที่ยงตรง

- ความมุ่งมั่นอดทน ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐานนำ ไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป

สมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

- การจัดการตนเอง โดยระบุเป้าหมายการทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบภายในกลุ่ม ทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง และบริหารจัดการงานและเวลา

- การรวมพลังทำงานเป็นทีม โดยมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานเป็นทีม มีการสะท้อนการทำงานและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงาน

- การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเกี่ยวกับความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าเมื่อต่อตัวต้านทานหลายตัวแบบอนุกรมและแบบขนาน

 

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. ตอบคำถามในใบงาน เกี่ยวกับความความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าเมื่อต่อตัวต้านทานหลายตัวแบบอนุกรมและแบบขนานอย่างถูกต้อง

2. การทำแบบฝึกหัดเรื่องการวิเคราะห์ปริมาณทางไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนานอย่างถูกต้อง

3. การวัดจากการบันทึกผลการทำกิจกรรม โดยใช้เครื่องมือวัดปริมาณกระแสไฟฟ้า และความต่างศักย์ไฟฟ้า ออกมาเป็นตัวเลขได้

4. สร้างแบบจำลอง จากการบันทึกผลการทำกิจกรรมในใบงาน โดยเขียนแผนภาพวงจรไฟฟ้าแสดงการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมและแบบขนานจากการต่อวงจรไฟฟ้าได้ ซึ่งแผนภาพและวงจรไฟฟ้าสามารถนำเสนอแนวคิดได้

5. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการตอบคำถามในใบงาน โดยแปลความหมายข้อมูลเกี่ยวกับความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า เมื่อต่อตัวต้านทานหลายตัวแบบอนุกรมและแบบขนานได้

6. วัตถุวิสัย จากการบันทึกผลการทำกิจกรรมและการตอบคำถามในใบงาน ที่สะท้อนความสอดคล้องกันของหลักฐานและการแปลความหมายที่เที่ยงตรง

7. ความมุ่งมันอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึง ความมุ่งมั่นอดทนในการทำงานระหว่างทำกิจกรรม และทำให้งานประสบความสำเร็จ

8. การจัดการตนเอง จากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงานและการบันทึกผลการทำกิจกรรมที่สะท้อนการเข้าใจเป้าหมายการทำงาน รับผิดชอบการทำงานของตนเองตามบทบาทหน้าที่ภายในกลุ่ม มีวินัยในการทำงานจนบรรลุเป้าหมายที่ตนเองได้รับ

9. การรวมพลังทำงานเป็นทีม จากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงานและการบันทึกผลการทำกิจกรรม ที่สะท้อนการมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานจนบรรลุเป้าหมาย ตลอดจนมีส่วนร่วมในการสะท้อนการทำงานให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงาน โดยยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างภายในกลุ่ม

10. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงาน ซึ่งเกิดจากการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรมและลงข้อสรุปเกี่ยวกับความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าเมื่อต่อตัวต้านทานหลายตัวแบบอนุกรมและแบบขนานที่สะท้อนความสัมพันธ์ของข้อมูลหรือหลักฐานได้

 เครื่องมือ

1. ใบงานที่ 2 ปริมาณทางไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าขนานเป็นอย่างไร

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
ชั่วโมง พลังงานไฟฟ้า
เรื่อง ปริมาณทางไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนานเป็นอย่างไร (2) วันที่ 15 พ.ย. 65 (มีใบงาน ใบกิจกรรม)