สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ปัจจุบันมีการนำเซลล์สุริยะหรือเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็ก ใช้พลังงานแสงจากดวงอาทิตย์เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยความเข้มของแสงที่ตกกระทบเซลล์สุริยะจะส่งผลต่อกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งที่ระดับความเข้มของแสงต่าง ๆ เซลล์สุริยะจะให้กระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้าแตกต่างกัน     สามารถใช้เแอมมิเตอร์และโวลต์มิเตอร์วัดได้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- อธิบายผลของความเข้มของแสงที่ตกกระทบเซลล์สุริยะที่มีต่อกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้าเมื่อเซลล์สุริยะเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          - การวัด วัดปริมาณทางไฟฟ้าโดยใช้เครื่องมือวัดปริมาณทางไฟฟ้ารวมทั้งระบุหน่วย

          - การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยแปลความหมายข้อมูลและสรุปเกี่ยวกับความเข้มของแสงกับกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้าเมื่อเซลล์สุริยะเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า

          ด้านจิตวิทยาศาสตร์

- ความมุ่งมั่นอดทน ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐาน นำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป

- วัตถุวิสัย แปลความหมายข้อมูลสอดคล้องกับหลักฐานอย่างเที่ยงตรง

สมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

- การจัดการตนเองโดยระบุเป้าหมายการทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบภายในกลุ่มทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเองและบริหารจัดการงานและเวลา

- การรวมพลังทำงานเป็นทีมโดยมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานเป็นทีม มีการสะท้อนและการใช้ประจักษ์พยานในการทำงานและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงาน

          - การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเกี่ยวกับผลของความเข้มของแสงที่ตกกระทบเซลล์สุริยะที่มีต่อกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า

 

 

การวัดผลและประเมินผล

1 วิธีการ

1. การตอบคำถามในใบงานเกี่ยวกับผลของความเข้มของแสงที่ตกกระทบกับเซลล์สุริยะที่มีต่อกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้าเมื่อเซลล์สุริยะเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าอย่างถูกต้อง

2. ข้อสรุปจากการแลกเปลี่ยนผลการทำกิจกรรมระหว่างกลุ่ม อย่างถูกต้อง

3. การวัด จากการบันทึกผลการทำกิจกรรม โดยใช้เครื่องมือวัดปริมาณทางไฟฟ้าเพื่อวัดค่ากระแสไฟฟ้าและค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าออกมาเป็นตัวเลขได้ถูกต้องและรวดเร็ว พร้อมทั้งระบุหน่วยของการวัดได้ถูกต้อง

4. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการตอบคำถามในใบงาน โดยแปลความหมายข้อมูลและสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลเกี่ยวกับความเข้มของแสงกับกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้าเมื่อเซลล์สุริยะเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าได้

5. ความมุ่งมันอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความมุ่งมั่นอดทนในการทำงานระหว่างทำกิจกรรม และทำให้งานประสบความสำเร็จ

6. วัตถุวิสัย จากการบันทึกผลและการตอบคำถามในใบงานที่สะท้อนความสอดคล้องของหลักฐานอย่างเที่ยงตรง

2 เครื่องมือ

1. ใบงานที่ 1 กระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้าที่มีเซลล์สุริยะเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้ามีค่าเป็นอย่างไร

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
ชั่วโมง พลังงานไฟฟ้า
เรื่อง การประยุกต์ใช้เครื่องมือวัดปริมาณทางไฟฟ้า วันที่ 4 พ.ย. 65 (มีใบงาน ใบความรู้ ใบกิจกรรม)