สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ฟังก์ชัน (function) หรือโปรแกรมย่อย (subroutine) เป็นกลุ่มของคำสั่งที่ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ ผู้ใช้จะนิยามฟังก์ชัน โดยกำหนดชื่อฟังก์ชันและคำสั่งที่ต้องการภายในฟังก์ชันนั้น

การตั้งชื่อฟังก์ชันควรตั้งให้เหมาะสมกับการทำงานเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเรียกใช้ฟังก์ชันได้โดยไม่ต้องเขียนชุดคำสั่งซ้ำ ๆ กันอีก นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้กับโปรแกรมอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันได้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

เขียนโปรแกรมที่มีการใช้ฟังก์ชัน

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. วัดความรู้จากการปฏิบัติและตอบคำถามในใบกิจกรรม

2. วัดทักษะจากการสังเกตระหว่างทำกิจกรรม

3. วัดคุณลักษณะจากการสังเกตพฤติกรรมจากการร่วมทำกิจกรรม การถามตอบ อภิปรายกันภายใน  กลุ่ม หรือระหว่างกลุ่ม การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม การแสดงความคิดเห็น วิธีคิด เหตุผล การนำเสนอข้อมูล

เครื่องมือ

1. แบบประเมินด้านความรู้

2. แบบสังเกตพฤติกรรมด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

ปีการศึกษา 2565 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาการคำนวณ
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเขียนโปรแกรม
ชั่วโมง การเขียนโปรแกรม
เรื่อง การออกแบบและการเขียนโปรแกรมที่มีฟังก์ชัน (2) 6 ก.ค. 65 (มีใบกิจกรรม และใบความรู้)