สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การประเมินความน่าเชื่อถือข้อมูล โดยอาจใช้หลักการ PROMPT ซึ่งได้แก่ การนำเสนอ ความสัมพันธ์ วัตถุประสงค์ วิธีการ แหล่งที่มา และเวลา (Presentation, Relevance, Objectivity, Method, Provenance, Timeliness: PROMPT)

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้
1. อธิบายวิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
ด้านทักษะและกระบวนการ

1.ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลจากแหล่งต่างๆ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. วัดความรู้จากการปฏิบัติและตอบคำถามในใบกิจกรรม
2. วัดทักษะจากการสังเกตระหว่างทำกิจกรรม
3. วัดคุณลักษณะจากการสังเกตพฤติกรรมจากการร่วมทำกิจกรรม การถามตอบ อภิปรายกันกายใน กลุ่ม หรือระหว่างกลุ่มการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม การแสดงความคิดเห็น วิธีคิด เหตุผลการนำเสนอข้อมูล
4. วัดสมรรถนะ
-  ความฉลาดรู้ดิจิทัล วัดจากการทำใบกิจกรรมที่  1.1
-  การสื่อสาร วัดจากแบบสังเกตพฤติกรรมด้านสมรรถนะ
-  การรวมพลังทำงานเป็นทีม วัดจากแบบสังเกตพฤติกรรมด้านสมรรถนะ 

เครื่องมือ

1. แบบประเมินใบกิจกรรมที่ 1.1

2. แบบประเมินสมรรถนะ

3. แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

ปีการศึกษา 2565 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาการคำนวณ
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ความฉลาดรู้ดิจิทัล
ชั่วโมง ความฉลาดรู้ดิจิทัล
เรื่อง การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล 5 ก.ย. 65 (มีใบงาน และใบความรู้)