สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การเขียนคำเป็นพื้นฐานของการอ่านและการใช้คำตรงความหมาย การเขียนประโยคบอกเล่าเป็น

การบอกให้รู้ว่า “ใคร ทำอะไร ที่ไหน”และการเชื่อมประโยคทำให้ข้อความกระชับ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

                    - บอกความหมายคำและประโยคสั้นๆ ได้  

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

                    - อ่านคำ และแต่งประโยคสั้นๆ โดยการเชื่อมประโยคได้

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

                   - มีมารยาทในการอ่าน และการเขียน

การวัดผลและประเมินผล

ประเด็น                 การประเมิน

ระดับคุณภาพ

(ดีมาก)

(ดี)

(พอใช้)

(ปรับปรุง)

๑.อ่านและเขียนคำจากภาพ

 

เขียนคำจากภาพถูกต้องทุกคำ

 

เขียนคำจากภาพถูกต้องเป็นส่วนใหญ่

 

เขียนคำจากภาพถูกต้องบางส่วน

 

เขียนคำจากภาพ

ไม่ได้

 

๒. สนทนาเล่าเรื่องตามหัวข้อที่กำหนด

สนทนาเล่าเรื่องในหัวข้อที่กำหนดทุกประเด็น

สนทนาเล่าเรื่องในหัวข้อที่กำหนดตามประเด็นได้เป็นส่วนใหญ่

สนทนาเล่าเรื่องในหัวข้อที่กำหนดตามประเด็นได้บางส่วน

ไม่สามารถสนทนาเล่าเรื่องในหัวข้อที่กำหนด

๓. แต่งประโยคจากภาพและเชื่อมประโยค

แต่งประโยคจากภาพและเชื่อมประโยค ได้ถูกต้องทุกข้อ

แต่งประโยคจากภาพและเชื่อมประโยค ได้ถูกต้อง

๔ ข้อ

 

แต่งประโยคจากภาพและเชื่อมประโยค ได้ถูกต้อง ๓ ข้อ

แต่งประโยคจากภาพและเชื่อมประโยค ได้ถูกต้อง

๑ ข้อ

๔. มารยาท

ในการอ่านและ

การเขียน

มีสมาธิ และมีความตั้งใจในการอ่านและเขียนอย่างสม่ำเสมอ

ไม่พูดคุยเล่นระหว่างทำงาน

มีความตั้งใจใน

การอ่านและเขียนอย่างสม่ำเสมอ  ไม่พูด คุย เล่น ระหว่างทำงาน

มีความตั้งใจใน

การอ่านและเขียนพอสมควร  พูด คุย เล่น ระหว่างทำงานเป็นบางครั้ง

ไม่ตั้งใจในการอ่านและเขียน พูด คุย เล่น ระหว่างทำงานตลอดเวลา  ต้องคอยตักเตือน

เกณฑ์การตัดสิน

คะแนน           ๑๓-๑๖   คะแนน         หมายถึง          ดีมาก

คะแนน           ๙-๑๒     คะแนน         หมายถึง          ดี

คะแนน           ๕-๘       คะแนน         หมายถึง          พอใช้

คะแนน           1-๔       คะแนน         หมายถึง          ปรับปรุง

 

เกณฑ์การผ่านตั้งแต่ระดับ พอใช้

ปีการศึกษา 2565 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ ๑๐ นักเขียนนักอ่าน
ชั่วโมง นักเขียนนักอ่าน
เรื่อง เขียนเรื่องเชื่อมประโยค 26 ก.ย. 65 (มีใบงาน)