สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การพูดเล่าเรื่องหรือเล่าประสบการณ์หรือเล่าเกี่ยวกับกิจกรรมที่ตนเองทำในชีวิตประจำวัน เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวที่ตนเองประสบพบเห็นหรือได้ปฏิบัติให้ผู้อื่นได้ฟัง

การเล่าเรื่องอาจช่วยให้ผู้ฟังสนุกสนานหรือเป็นคติเตือนใจ ที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ฟัง การเล่าเรื่องที่ดีจะต้องประกอบด้วยมารยาทในการพูด

และผู้ฟังที่ดีจะต้องมีมารยาทในการฟัง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

                    - บอกหลักการพูดได้ถูกต้อง

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

                    - พูดเล่าเรื่อง เล่าประสบการณ์ หรือเล่าเกี่ยวกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ 

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

                   - มีมารยาทในการฟังและการพูด  

การวัดผลและประเมินผล

เกณฑ์ประเมินการพูด

ประเด็น            การประเมิน

เกณฑ์การให้คะแนน

๑. การเตรียมการพูด

พูดนำเสนอด้วยความราบรื่น ไม่สะดุด ลำดับเนื้อหาได้ชัดเจน ไม่วกวน

พูดนำเสนอค่อนข้างราบรื่น พูดสะดุดบ้างเล็กน้อย ลำดับเนื้อหาได้ดี

พูดนำเสนอไม่ค่อยราบรื่น พูดสะดุดบ้างเล็กน้อย แต่ไม่ทำให้ใจความเสียหาย ลำดับเนื้อหาค่อนข้างดี

ไม่มีการเตรียมการพูด เกิดความประหม่า ลำดับเนื้อหาไม่เหมาะสม

๒. การนำเสนอเนื้อหา

เนื้อหาถูกต้อง ชัดเจนใช้ภาษากะทัดรัด เข้าใจง่ายเรียงลำดับเรื่องราวไม่วกวนนำเสียงชัดเจน ถูกต้องตามอักขรวิธี แสดงความรู้และความคิดเห็นตรงประเด็น

เนื้อหาถูกต้อง ชัดเจน ใช้ภาษากะทัดรัด เข้าใจง่าย เรียงลำดับเรื่องราวไม่วกวน นำเสียงชัดเจน ถูกต้องตามอักขรวิธีพบข้อผิดพลาดบ้าง แสดงความรู้และความคิดเห็นถูกต้องร้อยละ ๘๐

เนื้อหาถูกต้อง ชัดเจน ใช้ภาษากะทัดรัด เข้าใจง่าย เรียงลำดับเรื่องราวไม่วกวน น้ำเสียงไม่ชัดเจน ตามอักขรวิธี พบข้อผิดพลาดเป็นส่วนใหญ่ แสดงความรู้และความคิดเห็นถูกต้องร้อยละ ๖๐

เรียงลำดับเรื่องราววกวน น้ำเสียงเบา พูดไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี

มีข้อผิดพลาดมาก

แสดงความรู้และความคิดถูกต้องร้อยละ ๔๐

๓. บุคลิกภาพ

แต่งกายสุภาพ การใช้สายตาสื่อสารกับผู้ฟังขณะพูด ยืนตัวตรงในท่าสบาย มีความมั่นใจในตนเอง

แต่งกายสุภาพ การใช้สายตาสื่อสารกับผู้ฟังขณะพูด ยืนตัวตรงในท่าสบาย  ค่อนข้างมั่นใจตนเอง

 

แต่งกายสุภาพ การใช้สายตาสื่อสารกับผู้ฟังขณะพูด ยืนตัวตรงในท่าสบาย เอามือล้วงแคะแกะเกา หรือเอามือไขว้หลังเป็นบางครั้ง

แต่งกายไม่เรียบร้อย

ไม่ใช้สายตาสื่อสารกับผู้ฟังขณะพูดเอามือ แสดงกริยาที่ไม่เหมาะสมขณะพูด เช่น ล้วง แคะ แกะ เกา มือไขว้หลัง

๔. มารยาท

ในการพูด

มีความมั่นใจในการพูดใช้ถ้อยคำสุภาพรักษาเวลาในการพูด ให้เกียรติผู้ฟัง

มีความมั่นใจในการพูดเป็นส่วนใหญ่ใช้ถ้อยคำสุภาพรักษาเวลาในการพูด ให้เกียรติผู้ฟัง เป็นส่วนใหญ่

มีความมั่นใจในการพูดบ้างเล็กน้อยใช้ถ้อยคำสุภาพรักษาเวลาในการพูด ให้เกียรติผู้ฟังเป็นบางส่วน

ไม่มีความมั่นใจในการพูดใช้ถ้อยคำไม่สุภาพไม่รักษาเวลาในการพูด ไม่ให้เกียรติผู้ฟัง

 

เกณฑ์การประเมิน                 

๑๓-๑๖ คะแนน          หมายถึง ดีมาก

๙-๑ คะแนน              หมายถึง ดี

๕-๘ คะแนน               หมายถึง พอใช้

๑-๔ คะแนน              หมายถึง ปรับปรุง

เกณฑ์การผ่าน           

ตั้งแต่ระดับ พอใช้ ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2565 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ ๓ วาจานั้น สำคัญนัก
ชั่วโมง วาจานั้น สำคัญนัก
เรื่อง พูดดีเป็นศรีแก่ปาก 28 มิ.ย. 65