สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การรู้จักความเหมือนและความแตกต่างของพยัญชนะไทย สามารถทำให้เขียนพยัญชนะได้ถูกต้อง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

                    - บอกความแตกต่างของพยัญชนะแต่ละกลุ่มได้

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

                    - เขียนพยัญชนะได้ถูกต้อง

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

                   - มีมารยาทในการเขียน

การวัดผลและประเมินผล

ประเด็นการประเมิน

ระดับคะแนน

4

3

2

1

1. คัดเขียนพยัญชนะ

เขียนพยัญชนะได้ถูกต้อง ตัวอักษรคมชัด มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสะอาด

เขียนพยัญชนะได้ถูกต้อง ตัวอักษรคมชัด มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่ไม่สะอาด

เขียนพยัญชนะผิดบ้าง ตัวอักษรคมชัด มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่ไม่สะอาด

เขียนพยัญชนะผิดมาก ตัวอักษรไม่คมชัด ไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และไม่สะอาด

2. รูปแบบตัวอักษร

เขียนพยัญชนะไทยที่กำหนดตัวบรรจงเต็มบรรทัด ตามรูปแบบที่กำหนด

เขียนพยัญชนะไทยที่กำหนดตัวบรรจงเต็มบรรทัด ตามรูปแบบที่กำหนดบางส่วนบกพร่อง

เขียนพยัญชนะไทยที่กำหนดตัวบรรจงเต็มบรรทัด ตามรูปแบบที่กำหนดบกพร่องเป็นส่วนใหญ่

เขียนพยัญชนะไทยที่กำหนดตัวบรรจงเต็มบรรทัด ไม่ถูกต้องตามแบบที่กำหนด

3. ความสะอาด

ตัวอักษรสม่ำเสมอเรียบร้อย สวยงาม ผลงานสะอาด ไม่มีรอยลบขีดฆ่า

ตัวอักษรสม่ำเสมอเรียบร้อย สวยงาม ผลงานสะอาด มีรอยลบขีดฆ่า 1-2 แห่ง

ตัวอักษรไม่ค่อยสม่ำเสมอ ผลงานไม่สะอาด มีรอยลบขีดฆ่า 3-5 แห่ง

ตัวอักษรไม่ค่อยสม่ำเสมอ มีรอยลบขีดฆ่ามากกว่า 6 แห่ง

4. เวลา

ส่งงานตามเวลาที่กำหนด

ส่งงานหลังเวลาที่กำหนดเล็กน้อย

ส่งงานหลังเวลาที่กำหนดปานกลาง

ไม่ส่งงานตามเวลาที่กำหนด

5. มารยาทในการเขียน

มีสมาธิ และมีความตั้งใจในการเขียนอย่างสม่ำเสมอ ไม่พูด คุย เล่น ระหว่างที่ทำงาน

มีความตั้งใจในการเขียนอย่างสม่ำเสมอ ไม่พูด คุย เล่น ระหว่างที่ทำงาน

มีความตั้งใจในการเขียนพอสมควร พูด คุย เล่น ระหว่างทำงานเป็นบางครั้ง

ไม่มีความตั้งใจในการเขียน พูด คุย เล่น ระหว่างทำงานตลอดเวลา ต้องคอยตักเตือน

ปีการศึกษา 2565 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ ๑ ฉันรักโรงเรียน
ชั่วโมง ฉันรักโรงเรียน
เรื่อง การเขียนพยัญชนะไทย 20 พ.ค. 65 (มีใบงาน แผนภูมิพยัญชนะ)