สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

เมื่อมีแรงกระทำต่อวัตถุ เพื่อทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปบนพื้น จะมีแรงเสียดทานต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ  แรงเสียดทานจะเกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุกับพื้นในทิศตรงข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ  ถ้าออกแรงกระทำต่อวัตถุโดยขนาดของแรงเท่ากับขนาดของแรงเสียดทาน วัตถุจะไม่เคลื่อนที่และถ้าออกแรงกระทำต่อวัตถุขณะที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่ แรงเสียดทานมีผลทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่เปลี่ยนเป็นเคลื่อนที่ช้าลงจนหยุดนิ่ง ความรู้เกี่ยวกับแรงเสียดทานสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ตัวชี้วัด ว 2.2 ป.5/4 ระบุผลของแรงเสียดทานที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุจากหลักฐาน
เชิงประจักษ์

 จุดประสงค์การเรียนรู้

1 อธิบายผลของแรงเสียดทานที่มีต่อวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่และเขียนแผนภาพแสดงแรงเสียดทานและแรงที่

กระทำต่อวัตถุในแนวเดียวกัน

       2 การสังเกตการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุเมื่อมีแรงเสียดทานกระทำต่อวัตถุนั้น การลงความเห็นจาก

ข้อมูลเกี่ยวกับแรงเสียดทานและการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุปเกี่ยวกับผลของแรงเสียดทานที่มีต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ   

            3 มีวินัย ใฝ่เรียนรู้และวัตถุวิสัย

 

การวัดผลและประเมินผล

      1. สังเกตการตอบคำถามในชั้นเรียนและเนื้อหาในใบงาน

      2. สังเกตทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในขณะทำกิจกรรม

      3. สังเกตด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยที่ 6 แรง
ชั่วโมง หน่วยย่อยที่ 1 แรงลัพธ์และแรงเสียดทาน
เรื่อง แรงเสียดทานกับ การเคลื่อนที่ของวัตถุ (2) 9 ก.พ. 2565 (มีใบงาน ใบความรู้)