สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การได้ยินเสียงประกอบด้วยแหล่งกำเนิดเสียง ตัวกลางของเสียง และหู โดยเมื่อแหล่งกำเนิดเสียงสั่นจะส่งพลังงานจากการสั่นผ่านตัวกลางไปยังหูที่เป็นอวัยวะรับเสียง ซึ่งหูมีส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินเสียงทั้งส่วนที่รวมเสียงเข้าสู่รูหู และส่งไปยังส่วนที่ทำหน้าที่นำเสียงซึ่งจะสั่นต่อเนื่องกันไปยังส่วนที่ทำหน้าที่รับเสียง การสั่นต่อเนื่องกันนี้

ทำให้เกิดกระแสประสาทไปตามเส้นประสาททำให้เราได้ยิน และเข้าใจความหมายของเสียง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด ว 2.3 ป.5/1 อธิบายการได้ยินเสียงผ่านตัวกลางจากหลักฐานเชิงประจักษ์

จุดประสงค์การเรียนรู้

2.1 อธิบายส่วนประกอบของหูที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินเสียง

2.2 การสร้างแบบจำลองของหูและการตีความหมายของข้อมูลและลงข้อสรุปเกี่ยวกับส่วนประกอบของหูกับการได้ยินเสียง       

2.3 มีวินัย ใฝ่เรียนรู้และความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน

การวัดผลและประเมินผล

      1. สังเกตการตอบคำถามในชั้นเรียนและเนื้อหาในใบงาน

      2. สังเกตทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในขณะทำกิจกรรม

      3. สังเกตด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยที่ 5 เสียง
ชั่วโมง หน่วยย่อยที่ 1 เสียง
เรื่อง เสียงกับการได้ยิน (2) 22 ธ.ค. 2564 (มีใบงาน)