สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ไอน้ำในอากาศเมื่อกระทบกับอากาศที่เย็นกว่าหรืออุณหภูมิต่ำกว่าจะเกิดการควบแน่นกลายเป็นละอองน้ำ
เล็ก ๆ โดยมีฝุ่นละออง ควัน หรืออนุภาคอื่นๆ เป็นแกนกลาง ถ้าละอองน้ำรวมตัวกันลอยอยู่ในระดับใกล้พื้นโลก เรียกว่า หมอก แต่ถ้าละอองน้ำรวมตัวกันลอยอยู่ในท้องฟ้า เรียกว่า เมฆ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

 ตัวชี้วัด ว 3.2 ป.5/4 เปรียบเทียบกระบวนการเกิดเมฆ หมอก น้ำค้าง และน้ำค้างแข็งจากแบบจำลอง

จุดประสงค์การเรียนรู้

         1 อธิบายการเกิดเมฆและหมอก

         2 การสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากแบบจำลองการเกิดเมฆและหมอกและการลงความเห็นจากข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะของน้ำในแบบจำลอง

         3 มีวินัย ใฝ่เรียนรู้และความอยากรู้อยากเห็น

การวัดผลและประเมินผล

1. สังเกตการตอบคำถามในชั้นเรียนและเนื้อหาในใบงาน

2. สังเกตทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในขณะทำกิจกรรม

3. สังเกตด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยที่ 4 รู้จักน้ำและการเปลี่ยนแปลงของน้ำ
ชั่วโมง หน่วยย่อยที่ 2 การเปลี่ยนแปลงของน้ำ
เรื่อง การเกิดเมฆ หมอก น้ำค้างและน้ำค้างแข็ง (1) 15 พ.ย. 2564 (มีใบงาน)