สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

คำคล้องจอง คือ คำที่ใช้สระหรือพยัญชนะเสียงเดียวกัน ถ้ามีตัวสะกดจะต้องสะกดในมาตราเดียวกัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

                    - อ่านและเขียนคำคล้องจองได้ถูกต้อง

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

                    ๑) การคิดและตอบข้อคิดจากการฟังได้  

                     ๒) เขียนคำคล้องจอง ๑ และ ๒ พยางค์

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

                   - มีมารยาทในการอ่าน และการเขียน

การวัดผลและประเมินผล

         ใบงานที่ ๑๐ เรื่อง เขียนคำคล้องจอง ๑ และ ๒ พยางค์

ประเด็น                 การประเมิน

ระดับคุณภาพ

(ดีมาก)

(ดี)

(พอใช้)

(ปรับปรุง)

๑.อ่านและบอกความหมายคำ

 

อ่านและบอกความหมายคำถูกต้องทุกคำ คล่องแคล่ว และสามารถอ่านนำผู้อื่นได้

 

อ่านและบอกความหมายคำ

ถูกต้องเกือบทุกคำ และสามารถแก้ไขคำที่อ่านผิดได้ด้วยตนเอง

อ่านและบอกความหมายคำถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ และเมื่อมีผู้แนะนำ คำที่อ่านผิดก็สามารถแก้ไขตามได้

อ่านและบอกความหมายคำถูกต้องบางคำ นอกนั้นต้องมีผู้อ่านนำจึงสามารถอ่าน

ตามได้

๒.เขียนคำคล้องจอง ๑ และ ๒ พยางค์

 

เขียนคำคล้องจอง๑ และ ๒ พยางค์ถูกต้องทุกข้อ

เขียนคำคล้องจอง๑ และ ๒ พยางค์ถูกต้อง............ข้อ

 

เขียนคำคล้องจอง๑ และ ๒ พยางค์ถูกต้อง............ข้อ

 

เขียนคำคล้องจอง๑ และ ๒ พยางค์ถูกต้อง............ข้อ

 

๓. มารยาท

ในการเขียน

มีสมาธิ และมีความตั้งใจในการเขียนอย่างสม่ำเสมอ

ไม่พูดคุยเล่นระหว่างทำงาน

มีความตั้งใจใน

การเขียนอย่างสม่ำเสมอ  ไม่พูด คุย เล่น ระหว่างทำงาน

มีความตั้งใจใน

การเขียนพอสมควร  พูด คุย เล่น ระหว่างทำงานเป็นบางครั้ง

ไม่ตั้งใจในการเขียน พูด คุย เล่น ระหว่างทำงานตลอดเวลา  ต้องคอยตักเตือน

เกณฑ์การตัดสิน

คะแนน           ๑๐-๑๒   คะแนน         หมายถึง          ดีมาก

คะแนน           ๗-๙       คะแนน         หมายถึง          ดี

คะแนน           ๔-๖       คะแนน         หมายถึง          พอใช้

คะแนน           1-๓       คะแนน         หมายถึง          ปรับปรุง

เกณฑ์การผ่านตั้งแต่ระดับ พอใช้

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ ๒ อ่านเขียนเรียนภาษา
ชั่วโมง อ่านเขียนเรียนภาษา
เรื่อง เลิศล้ำด้วยคำคล้องจอง (๒) ๒๙ มิ.ย. ๖๔ (มีใบงาน ใบความรู้)