สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

กรุงศรีอยุธยาเป็นเส้นทางคมนาคมในการค้าขายกับดินแดนตอนในและต่างชาติ ส่งผลทำให้กรุงศรีอยุธยากลายเป็นเมืองท่าการค้านานาชาติที่สำคัญ กลุ่มบุคคลในสังคมสมัยอยุธยาแบ่งได้ 3กลุ่ม ได้แก่

1. ชนชั้นปกครอง แบ่งได้เป็น พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนาง

2. ชนชั้นใต้ การปกครอง แบ่งได้เป็น ไพร่ ทาส

3. ชนชั้นพิเศษ แบ่งได้เป็นภิกษุสงฆ์กับชาวต่างชาติซึ่งกลุ่มบุคคลแต่ละชนชั้นต่างมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกรุงศรีอยุธยา

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

จุดประสงค์

  1. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนที่มีบทบาททางเศรษฐกิจและสังคมสมัยอยุธยาได้อย่างมีเหตุผล
  2. นักเรียนสามารถตีความสาระสำคัญที่ปรากฏจากหลักฐานชั้นต้นทางประวัติศาสตร์ได้อย่างสมเหตุสมผล
  3. นักเรียนสามารถอภิปรายความสำคัญของระบบศักดินาที่มีต่อความเจริญทางเศรษฐกิจในสมัยอยุธยาได้อย่างมีเหตุผล

การวัดผลและประเมินผล

การประเมิน

  1. สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
  2. ตรวจความถูกต้องของชิ้นงาน
ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ประวัติศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา
ชั่วโมง เรื่อง ความสัมพันธ์ของอยุธยากับชาติในเอเชีย
เรื่อง ความสัมพันธ์ของอยุธยากับชาติในเอเชีย 9 ก.ย. 64 (ใบความรู้ประกอบสื่อการสอน)