สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การพูดเพื่อโน้มน้าวเป็นการพูดให้ผู้ฟังคล้อยตามไปกับความคิดของผู้พูด ซึ่งต้องมีเหตุผลและหลักฐานที่น่าเชื่อถือประกอบ การพูดจึงจะสัมฤทธิผล  การพูดโน้มน้าวเป็นการส่งสารให้ผู้ฟังมีความคิดเห็นและรู้สึกคล้อยตามผู้พูด ดังนั้น ผู้พูดจึงต้องมีคุณธรรม โน้มน้าวใจอย่างสมเหตุสมผล จริงใจ   ผู้พูดจึงจะประสบความสำเร็จในการพูดและเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้พูดและผู้ฟัง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด
ท 3.1 ม. 2/5 พูดในโอกาสต่าง ๆ ได้ตรงตามวัตถุประสงค์
ท 3.1  ม. 2/6 มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด    
จุดประสงค์
- นักเรียนอธิบายหลักการพูดโน้มน้าว
- นักเรียนพูดโน้มน้าวตามประเด็นที่กำหนดได้
- นักเรียนมีมารยาทในการฟัง การดูและการพูด 

การวัดผลและประเมินผล

-แบบประเมินการพูดในโอกาสต่างๆ (การพูดโน้มน้าว)

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พาทีทั่วถิ่น
ชั่วโมง การพูดในโอกาสต่างๆ (การพูดโน้มน้าว)
เรื่อง การพูดในโอกาสต่างๆ (การพูดโน้มน้าว) 11 ส.ค. 64 (มีตัวอย่างและใบสื่อประกอบการสอน)