สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

นิพจน์ที่เขียนในรูปเอกนามหรือในรูปการบวกของเอกนามตั้งแต่สองเอกนามขึ้นไปเรียกว่า พหุนาม

          การคูณพหุนาม จะใช้สมบัติต่างๆ ในระบบจำนวนจริง เช่น สมบัติการแจกแจง สมบัติการสลับที่สมบัติการเปลี่ยนหมู่ ซึ่งมีค่าเท่ากับการนำแต่ละพจน์ของพหุนามหนึ่งไปคูณทุกพจน์ของอีกพหุนามหนึ่ง แล้วนำพจน์ที่คล้ายกันมารวมกัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

มาตรฐาน  ค 1.2          เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูปความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน ลำดับและอนุกรมและนำไปใช้

ตัวชี้วัด  ค 1.2 ม.2/1     เข้าใจหลักการการดำเนินการของพหุนามและใช้พหุนามในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

จุดประสงค์

      นักเรียนสามารถหาผลคูณระหว่างเอกนามกับพหุนามที่กำหนดให้ได้

การวัดผลและประเมินผล

1 วิธีการ

                    1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

                   2. ตรวจใบงานที่ 6 เรื่อง การคูณพหุนาม (1) และใบงานที่ 7 เรื่อง การคูณพหุนาม (2)

                   3. นักเรียนประเมินตนเอง

2 เครื่องมือ

                   1. แบบบันทึกการตรวจใบงานที่ 6 และใบงานที่ 7

                   2. ใบงานที่ 6 เรื่อง การคูณพหุนาม (1) และใบงานที่ 7 เรื่อง การคูณพหุนาม (2)

3 เกณฑ์


                   1. ผลงานมีความถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80%

                   2. นักเรียนมีคุณภาพในระดับ 2 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง พหุนาม
ชั่วโมง การคูณพหุนาม
เรื่อง การคูณพหุนาม (1) วันที่ 4 ต.ค. 64 (มีใบงาน)