สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

สมบัติของการคูณเลขยกกำลัง

               เมื่อ a เป็นจำนวนใด ๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์ m และ n เป็นจำนวนเต็มบวก     (การคูณเลขยกกำลังก่อนที่จะนำเลขชี้กำลังมาบวกกัน ต้องทำให้ตัวฐานเท่ากันก่อน)

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

มาตรฐาน ค 3.2  เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการของจำนวนผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติของการดำเนินการและนำไปใช้

ตัวชี้วัด ค 2.2 ม.2/1      เข้าใจและใช้สมบัติของเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริงได้

จุดประสงค์

      นักเรียนสามารถเข้าใจและหาผลคูณของเลขยกกำลังเมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มได้

การวัดผลและประเมินผล

1 วิธีการ

                    1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

                   2. ตรวจบัตรคำ กิจกรรม “คู่นี้ใช่เลย”

                   3. ตรวจใบงานที่ 5 เรื่อง การคูณเลขยกกำลัง

                   4. นักเรียนประเมินตนเอง

2 เครื่องมือ

                   1. แบบบันทึกการตรวจใบงานที่ 5 เรื่อง การคูณเลขยกกำลัง

                   2. ใบงานที่ 5 เรื่อง การคูณเลขยกกำลัง

3 เกณฑ์

                   1. ผลงานมีความถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80%

                   2. นักเรียนมีคุณภาพในระดับ 2 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง
ชั่วโมง การดำเนินการของเลขยกกำลัง 1
เรื่อง การดำเนินการของเลขยกกำลัง (1) วันที่ 13 ก.ย. 64 (มีใบงาน)