สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การสะท้อนบนระนาบเป็นการแปลงทางเรขาคณิตที่มีเส้นตรง  l  ที่ตรึงเส้นหนึ่งเป็นเส้นสะท้อน     แต่ละจุด P บนระนาบจะมีจุด P¢เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อนจุด P โดยที่จุด P ไม่อยู่บนเส้นตรง  l แล้วเส้นตรง  l จะแบ่งครึ่งและตั้งฉาก จุด P อยู่บนเส้นตรง  l แล้วจุด P และจุด P¢ เป็นจุดเดียวกัน

          สมบัติของการสะท้อน

          1. สามารถเลื่อนรูปต้นแบบทับภาพที่ได้จากการเลื่อนขนานได้สนิทโดยต้องพลิกรูป

          2. ส่วนของเส้นตรงบนรูปต้นแบบและภาพที่ได้จากการสะท้อนของส่วนของเส้นตรงนั้นไม่จำเป็น

ต้องขนานกันทุกคู่

          3. ส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมแต่ละจุดบนรูปต้นแบบกับจุดที่สมนัยกันบนภาพที่ได้จากการสะท้อน

จะขนานกัน และไม่จำเป็นต้องยาวเท่ากัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

มาตรฐาน  ค 2.2      เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่าง รูปเรขาคณิตและทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำไปใช้

ตัวชี้วัด  ค 2.2 ม.2/3 เข้าใจและใช้ความรู้เกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ปัญหาในชีวิตจริง

จุดประสงค์

นักเรียนสามารถบอกภาพที่เกิดขึ้นจากการสะท้อน และอธิบายการวิธีการสะท้อนได้

การวัดผลและประเมินผล

1 วิธีการ

                   1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

                   2. ตรวจใบงานที่ 2 เรื่อง การสะท้อน

                   3. นักเรียนประเมินตนเอง

2 เครื่องมือ

                   1. แบบบันทึกการตรวจใบงานที่ 2 เรื่อง การสะท้อน

                   2. ใบงานที่ 2 เรื่อง การสะท้อน

3 เกณฑ์

                   1. ผลงานมีความถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80%

                   2. นักเรียนมีคุณภาพในระดับ 2 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต
ชั่วโมง การสะท้อน
เรื่อง การสะท้อน วันที่ 24 ส.ค. 64 (มีใบงาน)