สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

        คำสรรพนาม เป็นคำที่ใช้แทนคำนาม แบ่งออกเป็น ๖ ชนิด คือ  บุรุษสรรพนาม ปฤจฉาสรรพนาม วิภาคสรรพนาม อนิยมสรรพนาม นิยมสรรพนาม และประพันธสรรพนาม ส่วนคำกริยา เป็นคำที่แสดงอาการของคำนามหรือคำสรรพนาม แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ  อกรรมกริยา สกรรมกริยา วิกตรรถกริยา และกริยานุเคราะห์ การมีความรู้เรื่อง คำสรรพนามและคำกริยา จะทำให้เลือกใช้คำในประโยคได้ถูกต้องตามหน้าที่

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด 

          ท 4.1 (ม. 1/3) วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายความหมายของคำสรรพนามได้

2. อธิบายชนิดของคำสรรพนามได้

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

สังเกตพฤติกรรมการเรียน    

2. เครื่องมือ

ตรวจใบงาน

3. เกณฑ์                     

3.1 ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ขึ้นไป

3.2 ผ่านเกณฑ์คุณภาพระดับ 2 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พินิจพิจารณ์
ชั่วโมง คำสรรพนาม
เรื่อง คำสรรพนาม 5 ส.ค.64 (มีใบงานและใบความรู้)