สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

      นิราศภูเขาทองเป็นวรรณคดีประเภทนิราศ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศเรื่องที่ดีที่สุดของสุนทรภู่ ในปีพ.ศ. ๒๓๒๙ – ๒๓๙๘ ท่านแต่งนิราศเรื่องนี้จากการเดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทอง ที่กรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน) เมื่อเดือนสิบเอ็ด ปีชวด (พ.ศ. ๒๓๗๑) ขณะบวชเป็นพระภิกษุ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด    

ท 5.1 ม.1/1สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมเรื่องนิราศภูเขาทองได้ 

2. วิเคราะห์คุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมเรื่องนิราศภูเขาทองได้

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

2. เครื่องมือ

2.1 ใบงานเรื่อง วิเคราะห์คุณค่าจากเรื่องนิราศภูเขาทอง

2.2 แบบทดสอบเรื่อง นิราศภูเขาทอง

2.3 แบบประเมินความสามารถในการเขียนแผนภาพความคิด

3. เกณฑ์                     

3.1 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 80 ขึ้นไป

3.2 ผ่านเกณฑ์คุณภาพระดับ  2 ขึ้นไป        

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พินิจพิจารณ์
ชั่วโมง นิราศภูเขาทอง
เรื่อง นิราศภูเขาทอง (2) 29 ก.ค. 64 (มีใบงานและแบบทดสอบ)