สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

  คำพ้อง คือ คำที่มีการเขียนเหมือนกันหรืออ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่มีความหมายต่างกัน

  คำพ้อง แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ  คำพ้องรูปและคำพ้องเสียง

  คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกัน อ่านออกเสียงต่างกัน และมีความหมายต่างกัน เช่น

แขม (แขม) ชื่อพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง   แขม (ขะ-แม) คนเขมร

ครุ (ครุ) ภาชนะสานชนิดหนึ่งรูปกลมๆให้ตักน้ำ   ครุ (คะ-รุ) ครู , หนัก

กรี (กรี) กระดูกส่วนหัวที่ยาวและแข็งมากของกุ้ง  กรี (กะ-รี) ช้าง

เพลา (เพ-ลา) เวลา  เพลา (เพลา) เบาลง   (เพลา) แกนสำหรับให้ล้อหมุน

สระ (สระ) แอ่งน้ำขนาดใหญ่, ชำระล้าง  สระ (สะ-หระ) ตัวอักษรแทนเสียงสระ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ความรู้

1.บอกความหมายของคำพ้องรูปได้

2.ยกตัวอย่างคำพ้องรูปได้

ทักษะ

1.อ่านออกเสียงคำพ้องรูปจากคำที่กำหนดให้ได้ถูกต้อง

2.จับคู่คำพ้องรูปกับความหมายได้

คุณธรรม

1.ใฝ่รู้ใฝ่เรียน

2.รักความเป็นไทย

การวัดผลและประเมินผล

1.สังเกตพฤติกรรมนักเรียน

2.สังเกตการอ่านคำพ้องรูป

3.ตรวจผลงานนักเรียน

ปีการศึกษา 2561 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย รายวิชาภาษาไทย รหัส ท13101 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
ชั่วโมง ว่าวไทย 1
เรื่อง ว่าวไทย 1 วันที่ 21 ธ.ค.61 (มีใบงานและสื่อวิดีโอ)