สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

รำวง มาตรฐาน มีกำเนิดมาจากการรำโทน แต่เดิมการรำโทนเป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยทั่วไป ใช้เล่นกันในฤดูเทศกาลเฉพาะท้องถิ่นบางจังหวัด รำ โทน หรือ รำวงพื้นบ้านได้รับความนิยม จึงทำให้แพร่หลายอย่างรวดเร็วในเวลาไม่นานนัก จอมพล ป.พิบูลสงคราม ท่านให้ความสนใจและสนับสนุนรำวงอย่างจริงจัง จึงได้มอบหมายให้กรมศิลปากรจัดการปรับปรุงการรำ และบทร้องให้มีแบบแผนที่แน่นอน เพื่อเชิดชูศิลปวัฒนธรรมไทยการละเล่นพื้นบ้านให้ทีระเบียบ แบบแผนเป็นแบบฉบับต่อคนรุ่นหลัง กรมศิลปากร ประพันธ์ 4 บทเพลง คืองามแสงเดือน,ชาวไทย ,รำซิมารำและ คืนเดือนหงาย ท่านผู้หญิงละเมียด พิบูลสงคราม ประพันธ์ 6 บทเพลง คือ ดอกไม้ของชาติ , ดวงจันทร์-วันเพ็ญ ,หญิงไทยใจงาม ,ยอดชายใจหาญ ,ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ,บูชานักรบ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

          ศ 3.1   ป.4/1  ระบุทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์และการละครที่ใช้สื่อความหมายและอารมณ์

                       หลักและวิธีการปฏิบัตินาฏศิลป์ ภาษาท่า- นาฏยศัพท์

                 ป.4/2  ใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์หรือศัพท์ทางการละครง่าย ๆในการถ่ายทอดเรื่องราว

                       การใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ประกอบเพลงปลุกใจและเพลงพระราชนิพนธ์

                       การใช้ศัพท์ทางการละครในการถ่ายทอดเรื่องราว

             ป.4/3  แสดงการเคลื่อนไหวในจังหวะต่าง ๆตามความคิดของตน การประดิษฐ์ท่าทางหรือท่าร้า

                      ประกอบจังหวะพื้นเมือง

              ป.4/4  แสดงนาฏศิลป์เป็นคู่และหมู่  การแสดงนาฏศิลป์ ประเภทคู่และหมู่ รำวงมาตรฐาน- ระบำ

              ป.4/5  เล่าสิ่งที่ชื่นชอบในการแสดง

   ศ 3.2   ป.4/1  อธิบายประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์ หรือชุดการแสดงอย่างง่าย ๆ

                       ความเป็นมาของนาฏศิลป์ การละเล่นของหลวง และที่มาของชุดการแสดง คุณค่าของ   

                       นาฏศิลป์ไทย

             ป.4/4  ระบุเหตุผลที่ควรรักษาและสืบทอดการแสดงนาฏศิลป์

             ป.4/2  เปรียบเทียบการแสดงนาฏศิลป์กับการแสดงที่มาจากวัฒนธรรมอื่น การชมการแสดง

                      เปรียบเทียบการนาฏศิลป์ กับการแสดงวัฒนธรรมอื่น

            ป.4/3  อธิบายความสำคัญของการแสดงความเคารพในการเรียนและการแสดงนาฏศิลป์

                     ความเป็นมาของนาฏศิลป์ การทำความเคารพก่อนเรียนและก่อนแสดงนาฏศิลป์

    วัตถุประสงค์

             1.  ความหมาย-ลักษณะความสำคัญ-ธรรมเนียมการแสดง รำวงมาตรฐาน

             2. เพลงและท่ารำในรำวงมาตรฐาน

การวัดผลและประเมินผล

 1.สังเกตการตอบคำถาม

 2.สังเกตการปฏิบัติกิจกรรม

ปีการศึกษา 2561 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระ ศิลปะ
หน่วย รายวิชากลุ่มบูรณาการ (แกนหลักศิลปะ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
ชั่วโมง รายวิชากลุ่มบูรณาการ (แกนหลักศิลปะ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เรื่อง รำวงมาตรฐาน 3 (26 ก.พ. 62)