สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การแสดงนาฏศิลป์ไทย 4 ภาค

ภาคเหนือ     มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะช้า ท่ารำที่อ่อนช้อย นุ่มนวล นาฏศิลป์ของภาคเหนือเช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนดาบ ตีกลองสะบัดไชย นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา เป็นต้น   ดังนั้น นาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือ นอกจากมีของที่เป็น "คนเมือง" แท้ๆ แล้วยังมีนาฏศิลป์ที่ผสมกลมกลืนกับชนชาติต่างๆ และของชนเผ่าต่างๆ

 ภาคใต้    เป็นดินแดนที่ติดทะเลฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับมลายู ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูบ้าง ประเพณีและวัฒนธรรมบางอย่างคล้ายคลึงกัน คือ พูดเร็ว ว่องไว ตัดสินใจเร็ว เพลงและดนตรีจึงคล้ายคลึงกัน เช่น หนังตะลุง ลิเกป่า

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน)      การแสดงของภาคอีสานเรียกว่า เซิ้ง เป็นการแสดงที่ค่อนข้างเร็ว กระฉับกระเฉง สนุกสนาน เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งกระหยัง เซิ้งสวิง เซิ้งดึงครกดึงสาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ฟ้อนที่เป็นการแสดงคล้ายกับภาคเหนือ เช่น ฟ้อนภูไท (ผู้ไท) เป็นต้น

ภาคกลาง   คนภาคกลางส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและเพื่อความสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำเถิดเทิง รำโทนหรือรำวง รำกลองยาว เป็นต้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7. ตัวชี้วัด

          ศ 3.1   ป.4/1  ระบุทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์และการละครที่ใช้สื่อความหมายและอารมณ์หลักและวิธีการปฏิบัตินาฏศิลป์ ภาษาท่า- นาฏยศัพท์

                     ป.4/2  ใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์หรือศัพท์ทางการละครง่าย ๆในการถ่ายทอดเรื่องราวการใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ประกอบเพลงปลุกใจและเพลงพระราชนิพนธ์การใช้ศัพท์ทางการละครในการถ่ายทอดเรื่องราว

                     ป.4/3  แสดงการเคลื่อนไหวในจังหวะต่าง ๆตามความคิดของตน การประดิษฐ์ท่าทางหรือท่าร้าประกอบจังหวะพื้นเมือง

                     ป.4/4  แสดงนาฏศิลป์เป็นคู่และหมู่  การแสดงนาฏศิลป์ ประเภทคู่และหมู่ รำวงมาตรฐาน- ระบำ

                     ป.4/5  เล่าสิ่งที่ชื่นชอบในการแสดง

         ศ 3.2   ป.4/1  อธิบายประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์ หรือชุดการแสดงอย่างง่าย ๆความเป็นมาของนาฏศิลป์ การละเล่นของหลวง และที่มาของชุดการแสดง คุณค่าของ   นาฏศิลป์ไทย

                   ป.4/4  ระบุเหตุผลที่ควรรักษาและสืบทอดการแสดงนาฏศิลป์

                   ป.4/2  เปรียบเทียบการแสดงนาฏศิลป์กับการแสดงที่มาจากวัฒนธรรมอื่น การชมการแสดงเปรียบเทียบการนาฏศิลป์ กับการแสดงวัฒนธรรมอื่น

การวัดผลและประเมินผล

ปีการศึกษา 2561 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระ ศิลปะ
หน่วย รายวิชากลุ่มบูรณาการ (แกนหลักศิลปะ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
ชั่วโมง รายวิชากลุ่มบูรณาการ (แกนหลักศิลปะ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เรื่อง นาฏศิลป์4ภาค 2 (29 ม.ค. 62)