สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ระบำ คือ ศิลปะของการร่ายรำที่แสดงพร้อมกันเป็นหมู่เป็นชุด ความงามของการแสดงระบำ อยู่ที่ความสอดประสานกลมกลืนกัน ด้วยความพร้อมเพรียงกัน  การแสดงมีทั้งเนื้อร้องและไม่มีเนื้อร้อง ใช้เพียงดนตรีประกอบ  คำว่า "ระบำ" รวมเอา "ฟ้อน" และ "เซิ้ง" เข้าไว้ด้วยกัน เพราะวิธีการแสดงไปในรูปเดียวกัน แตกต่างกันที่วิธีร่ายรำ และการแต่งกายตามระเบียบประเพณีตามท้องถิ่นระบำ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ระบำดั้งเดิมหรือระบำมาตรฐาน และระบำปรับปรุงหรือระบำเบ็ดเตล็ด    รำ หมายถึง การแสดงที่มุ่งความงามของการร่ายรำ เป็นการแสดงท่าทางลีลาของผู้รำ โดยใช้มือแขนเป็นหลัก ฟ้อน  หมายถึง ศิลปะการแสดงที่เป็นประเพณีของทางภาคเหนือ จะใช้ผู้แสดงเป็นจำนวนมาก มีลีลาการฟ้อนพร้อมเพรียงกันด้วยจังหวะที่ค่อนข้างช้า

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

          ศ 3.1   ป.4/1  ระบุทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์และการละครที่ใช้สื่อความหมายและอารมณ์

                       หลักและวิธีการปฏิบัตินาฏศิลป์ ภาษาท่า- นาฏยศัพท์

                 ป.4/2  ใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์หรือศัพท์ทางการละครง่าย ๆในการถ่ายทอดเรื่องราว

การใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ประกอบเพลงปลุกใจและเพลงพระราชนิพนธ์

                       การใช้ศัพท์ทางการละครในการถ่ายทอดเรื่องราว

             ป.4/3  แสดงการเคลื่อนไหวในจังหวะต่าง ๆตามความคิดของตน การประดิษฐ์ท่าทางหรือท่าร้า

                      ประกอบจังหวะพื้นเมือง

              ป.4/4  แสดงนาฏศิลป์เป็นคู่และหมู่  การแสดงนาฏศิลป์ ประเภทคู่และหมู่ รำวงมาตรฐาน- ระบำ

              ป.4/5  เล่าสิ่งที่ชื่นชอบในการแสดง

   ศ 3.2   ป.4/1  อธิบายประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์ หรือชุดการแสดงอย่างง่าย ๆ

                       ความเป็นมาของนาฏศิลป์ การละเล่นของหลวง และที่มาของชุดการแสดง คุณค่าของ   

                       นาฏศิลป์ไทย

             ป.4/4  ระบุเหตุผลที่ควรรักษาและสืบทอดการแสดงนาฏศิลป์

             ป.4/2  เปรียบเทียบการแสดงนาฏศิลป์กับการแสดงที่มาจากวัฒนธรรมอื่น การชมการแสดง

                      เปรียบเทียบการนาฏศิลป์ กับการแสดงวัฒนธรรมอื่น

            ป.4/3  อธิบายความสำคัญของการแสดงความเคารพในการเรียนและการแสดงนาฏศิลป์

                     ความเป็นมาของนาฏศิลป์ การทำความเคารพก่อนเรียนและก่อนแสดงนาฏศิลป์

วัตถุประสงค์

             1.  ความหมาย-ลักษณะความสำคัญ-ฃองการแสดงประเภท ระบำ รำ ฟ้อน

             2. การแสดงท่ารำ-ขับร้องตามบทเพลงที่กำหนด

การวัดผลและประเมินผล

1. สังเกตการตอบคำถาม

2. สังเกตการปฏิบัติกิจกรรม

ปีการศึกษา 2561 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มสาระ ศิลปะ
หน่วย รายวิชากลุ่มบูรณาการ (แกนหลักศิลปะ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
ชั่วโมง รายวิชากลุ่มบูรณาการ (แกนหลักศิลปะ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
เรื่อง ระบำรำฟ้อน 2 (8 ม.ค.62)