การเขียนแสดงเศษส่วนจำนวนผลลัพธ์ของเหตุการณ์ที่เราสนใจส่วนด้วยจำนวนผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ซึ่งเราเรียกการเขียนแสดงเศษส่วนนี้ว่า “ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์”เมื่อแต่ละผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นจากการสุ่ม มีโอกาสเกิดขึ้นได้เท่า ๆ กัน
ตัวชี้วัด
ค 5.2 3/1 หาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์จากการทดลองสุ่มที่ผลแต่ละตัวมีโอกาสเกิดขึ้นเท่า ๆ กันและใช้ความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล
ค 6.1 3/2 ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
ค 6.1 3/3 ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ค 6.1 3/4 ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน
จุดประสงค์การเรียนรู้
นักเรียนสามารถหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์จากการทดลองสุ่มที่ผลลัพธ์แต่ละตัวมีโอกาสเกิดขึ้นเท่า ๆ กันได้
1. วิธีการ
1.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
2. เครื่องมือ
2.1 แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
2.2 แบบบันทึกคะแนน
3. เกณฑ์
3.1 ผลงานมีความถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของคะแนน
3.2 ผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ขึ้นไป